Pages

Top Ad

Key Maps:

latest, MAP, OFFICIAL MAP, BASE MAP

advertisement

Guidelines for calculating the area of a building

  คําแนะนําในการคํานวณพื้นที่ของอาคาร เมื่อพูดถึง "พื้นที่อาคาร" โดยทั่วไปมีการคำนวณแตกต่างกันไปตามการนำไปใช้งานและอาจจะพบเจอกับคำ...

 คําแนะนําในการคํานวณพื้นที่ของอาคาร

เมื่อพูดถึง "พื้นที่อาคาร" โดยทั่วไปมีการคำนวณแตกต่างกันไปตามการนำไปใช้งานและอาจจะพบเจอกับคำที่ใกล้เคียงกัน เช่น "พื้นที่ใช้สอยอาคาร" "พื้นที่ก่อสร้าง" ซึ่งหลายครั้ง ก็ไม่สามารถหาเอกสารอ้างอิง โดยชัดเจนว่า พื้นที่ดังกล่าว รวมพื้นที่ส่วนไหนบ้าง ไม่รวมพื้นที่ส่วนไหน โดยในที่นี้จะพูดถึงคําแนะนําในการคํานวณ พื้นที่ของอาคารประเภทที่ต้องมีที่จอดรถ ที่กลับรถ ทางเข้า-ออกของรถประกอบแบบแปลน ตามประกาศกรุงเทพมหานคร ที่ ป.281/2535 ที่เป็นแนวทางปฎิบัติในการยื่นขอใบอนุญาตกับหน่วยงานของกรุงเทพมหานคร โดยสรุปหลักการตามคำแนะนำได้ดังนี้

การคำนวณพื้นที่ของอาคารแต่ละส่วนให้คำนวณตามรูปทรงเลขาคณิต โดยใช้ขนาดกว้างยาวจากศูนย์กลางผนัง หรือศูนย์กลางเสาเป็นเกณฑ์ ที่แสดงไว้เป็นตัวเลขในระบบเมตริก (มิใช่วัดจากแบบ) 

มีรายละเอียดดังนี้

1. พื้นที่ของอาคารบางส่วนที่สามารถหักออกได้จากพื้นที่ที่ต้องแสดง ได้แก่ พื้นที่ของช่องลิฟต์ ช่องท่อ ให้คิดเนื้อที่รวมกับพื้นล่างเพียงชั้นเดียว

2. พื้นที่ของขนาดเสาไม่ให้ใช้หักลบออกจากพื้นที่ที่คำนวณ

3. พื้นที่ของบันไดให้คิดเพิ่มพื้นที่ของอาคารเหมือนพื้นที่ใช้สอยทั่วไป

4. ในการคำนวณพื้นที่ให้แสดงเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม เศษพื้นที่ ตั้งแต่กึ่งหนึ่งขึ้นไปให้ปัดเป็นเลขจำนวนเต็ม ถ้าต่ำกว่ากึ่งหนึ่งให้ปัดทิ้ง

5. พื้นที่ถังเก็บน้ำใต้ดิน พื้นที่ถังเก็บน้ำชั้นดาดฟ้า และส่วนอื่นๆที่คล้ายกันให้นับรวมเป็นพื้นที่ของอาคารด้วย

6 ในการคิดพื้นที่ของชั้นล่างของอาคารให้คิดพื้นที่เฉพาะบริเวณขอบนอกของเสาของอาคาร

ที่มา : ประกาศกรุงเทพมหานคร ที่ป. 281/2535 จากเว็บไซด์ของสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

เครื่องวัดระยะด้วยเลเซอร์แบบใช้มือถือแบบดิจิตอล Handheld Digital Laser Point Distance Meter Measure Tape Range Finder 132ft/40m ในราคา ฿599 

สำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมืองเคยให้คำแนะนำในการคิดพื้นที่ใช้สอยของอาคารตามกฏหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร จะคิดตามพื้นที่ของพื้นที่อาคารที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ (กันสาด ช่องเปิด ช่องลิฟต์ ช่องท่อน้ำ ช่องท่อไฟ เป็นส่วนที่ไม่มีพื้นของอาคาร ไม่นำมาคิดเป็นพื้นที่ใช้สอยของอาคาร) พื้นที่ดาดฟ้า คือส่วนบนสุดของอาคารที่ไม่มีหลังคาปกคลุมและบุคคลสามารถขึ้นไปใช้สอยได้ ดังนั้น หากอาคารมีดาดฟ้าก็จะต้องคิดเป็นพื้นที่อาคารด้วย 

ที่มา : จากเอกสารเลขที่ มท 0710/598 ของสำนักควบคุมและตรวจสอบอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง

หมายเหตุ :

- กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (พ.ศ.2543) ข้อ 1 - นิยามคำว่า "ดาดฟ้า" หมายความว่า พื้นที่ส่วนบนสุดที่ไม่มีหลังคาปกคลุม และบุคคลสามารถขึ้นไปใช้สอยได้ 

- กฏกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พรบ. คุมอาคาร พ.ศ. 2522  กำหนดไว้ว่า 
“พื้นที่อาคาร”  หมายความว่า พื้นที่ของพื้นของอาคารแต่ละชั้นที่บุคคลเข้าอยู่ หรือเข้าใช้สอยได้ภายในขอบเขตด้านนอกของคานหรือภายในพื้นนั้น หรือภายในขอบเขตด้านนอกของผนังของอาคาร และหมายความรวมถึงเฉลียงหรือระเบียงด้วย แต่ไม่รวมพื้นดาดฟ้าและบันไดนอกหลังคา

ซึ่งหากเทียบเคียงจากกฎกระทรวง 2 ฉบับข้างต้น อาจจะพิจารณาได้ว่า 

- กรณีเป็นอาคารทั่วไปที่ไม่เข้าเกณฑ์อาคารสูงหรือาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะต้องคิดพื้นที่ชั้นดาดฟ้าเป็นพื้นที่อาคาร

- กรณีเป็นอาคารสูงหรือาคารขนาดใหญ่พิเศษ จะไม่ต้องคิดพื้นที่ชั้นดาดฟ้าเป็นพื้นที่อาคาร

ไม่มีความคิดเห็น

Latest Articles