Pages

Top Ad

Key Maps:

latest, MAP, OFFICIAL MAP, BASE MAP

advertisement

Land Characteristics and Legal descriptions│ลักษณะที่ดินที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงการ

เนื่องจากในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ มีหลักเกณฑ์และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายส่วน แต่สำหรับหลักเกณฑ์การก่อสร้างอาค...

เนื่องจากในการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อสร้างอาคารประเภทต่างๆ มีหลักเกณฑ์และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องหลายส่วน แต่สำหรับหลักเกณฑ์การก่อสร้างอาคารในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต้นทุนของที่ดินค่อนข้างสูง มีข้อสังเกตุสำหรับการพิจารณารูปแปลงที่ดิน กายภาพของที่ดิน รวมถึงถนนด้านหน้าที่ดิน เป็นข้อพิจารณาที่ควรคำนึงถึงคือกายภาพที่ดิน

  • หน้ากว้างที่ดินไม่ควรต่ำกว่า 6.0 เมตร สำหรับอาคารทั่วไป และอาคารที่ไม่เข้าเกณฑ์อาคารขนาดใหญ่พิเศษหรืออาคารสูง (พิจารณาทั้งเกณฑ์การใช้และเกณฑ์กฎหมายควบคุมอาคาร) ทั้งนี้ เกณฑ์ทางเข้า-ออกรถยนต์ (สำหรับอาคารที่ต้องมีที่จอดรถ) ที่ต้องมีเขตทางไม่น้อยกว่า 6 เมตร จะใช้บังคับเฉพาะที่ดินที่อยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร
  • หน้ากว้างที่ดินต้องไม่ต่ำกว่า 12.0 เมตร สำหรับการก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษหรืออาคารสูง
  • ขนาดความกว้างของแปลงที่ดิน ไม่ควรต่ำกว่า 45 เมตร ทั้งนี้เป็นขนาดที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการสร้างอาคารสูง หรืออาคารที่ต้องมีที่จอดรถภายในอาคาร (แบบทางวนจอด) หรือหากน้อยกว่า 45 เมตร (โดยประมาณ) ก็ไม่ควรต่ำกว่า 40 เมตร (โดยประมาณ)  ทั้งนี้หากมีขนาดน้อยกว่านี้ ก็ยังสามารถสร้างที่จอดรถแบบบวนจอดได้ แต่สัดส่วนที่จอดรถจะมากขึ้น (แต่จะมีผลทำให้สัดส่วนของพื้นที่ขายหรือพื้นที่หารายได้น้อยลง) หากต่ำกว่านี้ จะต้องใช้ที่จอดรถแบบ 'ที่จอดรถอัตโนมัติ – Automatic Parking System' 





ถนนด้านหน้าที่ดิน



  • เขตทางต่ำกว่า 6.0 เมตร จะสร้างอาคารในลักษณะอาคารที่ไม่เข้าเกณฑ์อาคารขนาดใหญ่ คือ อาคารที่มีพื้นที่อาคารต่ำกว่า 2,000 ตร.ม. / สูงเกิน 15 ม. พื้นที่ 1,000 ตร.ม. - ต่ออาคาร
  • เขตทางไม่น้อยกว่า 6.0 เมตร แต่ไม่เกิน 10.0 เมตร จะสร้างอาคารได้ในลักษณะอาคารขนาดใหญ่ได้หรือ อาคารที่มีพื้นที่อาาคารรวม 2,000 - 9,999 ตร.ม. /อาคาร แต่ไม่ใช่อาคารสูง (ใช้บังคับเฉพาะที่ดินที่อยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร - (ตามเกณฑ์ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544)


หมายเหตุ
เป็นตัวอย่างเบื้องต้น ในการใช้ประโยชน์ที่ดินยังต้องมีการตรวจสอบรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองฯ ซึ่งบางครั้งมีหลักเกณฑ์ของถนนที่มากกว่าเกณฑ์ข้างต้นนี้



พื้นที่อาคาร

“อาคารสูง” และ “อาคารขนาดใหญ่พิเศษ” 
  • "พื้นที่อาคาร” หมายความว่า พื้นที่ของพื้นของอาคารแต่ละชั้น ที่บุคคลเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ภายในขอบเขตด้านนอกของคานหรือภายในพื้นนั้น หรือภายในขอบเขตด้านนอกของผนังของอาคาร และหมายความรวมถึงเฉลียงหรือระเบียงด้วย แต่ไม่รวมพื้นดาดฟ้าและบันไดนอกหลังคา นั่นคือ พื้นที่ดาดฟ้าและพื้นที่บันไดนอกหลัง จะไม่ถูกนำมาคิดรวมใน FAR ในกรณีที่เป็นการสร้างอาคารสูง/อาคารขนาดใหญ่พิเศษ
  • อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร ต้องมีค่าสูงสุดของอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นของอาคารทุกหลังต่อพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคาร(FAR.) ไม่เกิน 10 ต่อ 1
  • ในกรณีที่มีอาคารอื่นใดหรือจะมีการก่อสร้างอาคารอื่นใดในพื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารเดียวกันกับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องมีค่าสูงสุดของอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมกันทุกชั้นของอาคารทุกหลังต่อพื้นที่ดิน(FAR.) ที่ใช้เป็นที่ตั้งอาคารไม่เกิน 10 ต่อ 1 ด้วย 

ไม่มีความคิดเห็น

Latest Articles