ในการหาจำนวนที่จอดรถตามกฎหมายควบคุมอาคาร ปัจจุบันใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) เป็นกฎกระทรวงหลัก ที่มีข้อกำหนดเรื่องประเภทอาคารซึ่ง...
ในการหาจำนวนที่จอดรถตามกฎหมายควบคุมอาคาร ปัจจุบันใช้กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2517) เป็นกฎกระทรวงหลัก ที่มีข้อกำหนดเรื่องประเภทอาคารซึ่งต้องมีที่จอดรถยนต์ ที่กลับรถยนต์ และทางเข้าออกรถยนต์ และกำหนดจำนวนที่จอดรถยนต์ที่ต้องจัดให้มีตามกฎหมาย
กฎกระทรวงฉบับนี้เป็นกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากยังไม่มีกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ออกมาใช้บังคับ
โดยมีกฎกระทรวงฉบับนี้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม โดย
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 41 (พ.ศ. 2537)
- กฎกระทรวง ฉบับที่ 64 (พ.ศ. 2555) (แก้ไขเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวกับที่จอดรถยนต์สำหรับ”โรงแรม”)
หมายเหตุ
1. ในการคำนวณให้มีทีจอดรถยนต์ตามจํานวนที่กําหนดของแต่ละประเภทของอาคารที่ใช้เป็นที่ประกอบกิจการในอาคารขนาดใหญ่นั้นรวมกัน หรือคำนวณตามเกณฑ์อาคารขนาดใหญ่ โดยให้ถือที่จอดรถยนต์จํานวนที่มากกว่าเป็นเกณฑ์
2. อาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารทีใช้เป็นที่ประกอบกิจการหลายประเภท ถ้าเป็นประเภทของอาคารที่ต้องมีที่จอดรถยนต์ ที่กลับรถยนต์ และทางเข้าออกของรถยนต์ ต้องจัดให้มีจํานวนที่จอดรถยนต์ตามที่กําหนดของแต่ละประเภทของอาคารที่ใช้เป็นที่ประกอบกิจการในอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารนั้นรวมกัน
3. ที่จอดรถยนต์ต้องจัดให้อยู่ภายในบริเวณของอาคารนั้น ถ้าอยู่ภายนอกอาคารต้องมีทางไปสู่อาคารนั้นไม่ เกิน 200 เมตร
4. ทางเข้าออกของรถยนต์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร ในกรณีทีจัดให้รถยนต์วิ่งได้ทางเดียว ทางเข้าและทางออกต้องกว้างไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร โดยต้องทําเครื่องหมายแสดงทางเข้าและทางออกไว้ให้ปรากฏ และปากทางเข้าออกของรถยนต์ต้องเป็นดังนี้
(1) แนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกของรถยนต์ต้องไม่อยู่ในทีทีเป็นทางร่วมหรือทางแยก และต้องห่างจากจุดเริมต้นโค้งหรือหักมุมของขอบทางร่วมหรือขอบทางแยกสาธารณะ มีระยะไม่น้อยกว่า 20 เมตร สําหรับโรงมหรสพ ระยะดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 50 เมตร
(2) แนวศูนย์กลางปากทางเข้าออกของรถยนต์ต้องไม่อยู่บนเชิงลาดสะพาน และต้องห่างจากจุดสุดเชิงลาดสะพานมีระยะไม่น้อยกว่า 50 เมตร สําหรับโรงมหรสพระยะดังกล่าวต้องไม่น้อยกว่า 100 เมตร
ปัจจุบันมีข้อบัญญัติท้องถิ่นในเรื่องและลักษณะดังกล่าวออกใช้บังคับแล้วจำนวน 10 ฉบับ เป็นเทศบัญญัติและข้อบัญญัติของเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดนนทบุรี เรียงตามลำดับเวลาที่ออกใช้บังคับ ได้แก่
– เทศบาลตำบลศรีสุนทร (อ.ถลาง จ.ภูเก็ต)
– อบต. เทพกระษัตรี (อ.ถลาง จ.ภูเก็ต)
– เทศบาลตำบลเชิงทะเล (อ.ถลาง จ.ภูเก็ต)
– เทศบาลเมืองบางกรวย (อ.บางกรวย จ.นนทบุรี)
– เทศบาลนครปากเกร็ด (อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี)
– เทศบาลนครนนทบุรี (อ.เมืองฯ จ.นนทบุรี)
– เทศบาลตำบลไทรม้า (อ.เมืองฯ จ.นนทบุรี)
– เทศบาลเมืองบางบัวทอง (อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี)
– อบต. บางรักน้อย (อ.เมืองฯ จ.นนทบุรี)
– เทศบาลตำบลเสาธงหิน (อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี)
ปรับปรุงเพิ่มเติมจาก สมาคมสถาปนิกสยาม ที่มา https://asa.or.th/laws/news20180213-2
ไม่มีความคิดเห็น