ด้วยโลกปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีผลต่อชีวิตคนเราหลายด้าน จะสั่งอาหาร จะสั่งซื้อสินค้า ก็สั่งผ่านอินเตอร์เน็ต สั่งผ่าน app กันเยอะ...
ด้วยโลกปัจจุบันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีผลต่อชีวิตคนเราหลายด้าน
จะสั่งอาหาร จะสั่งซื้อสินค้า ก็สั่งผ่านอินเตอร์เน็ต สั่งผ่าน app
กันเยอะละ เรียกว่าชีวิตมันง่ายขึ้นเยอะ รวมถึงแผนที่
ที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนการใช้แผนที่ดาวเทียม หรือแผนที่นำทาง
เป็นเรื่องของคนเฉพาะกลุ่ม และยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่นับตั้งแต่ Google
ก้าวเข้ามาและนำเสนอบริการแผนที่ Google Maps ก็ทำให้คนธรรมดาอย่างเราๆนี้
สามารถเข้าถึงบริการการใช้งานกันง่ายขึ้น และด้วยบริการของ Google Maps นี้ Google ก็ได้ส่งเครื่องมืออีกอย่างที่ทำให้เราใช้งานแผนที่กันได้มากขึ้นนั่นคือ
Google My Maps
* ตัวอย่างการประยุกต์การใช้งานนำไปจัดเก็บข้อมูลราคาซื้อขายที่ดิน
** ข้อมูลข้างต้นนำมาจาก http://www.realist.co.th/blog มาพัฒนาแผนที่ต่อ
สำหรับการประยุกต์การจัดเก็บข้อมูลที่ดินเพื่อนำไปใช้งานด้านอื่นๆ เช่น
ส่งเป็นข้อมูลการขายของนายหน้า จัดเก็บเป็นข้อมูลที่ดินส่วนตัว
จัดเก็บข้อมูลสำหรับใช้ในงานประเมินราคา หรือแล้วแต่จะนำไปใช้งานด้านอื่นๆกัน
เนื่องจากการใช้เครื่องมือนี้มันเป็นผลิตภัณฑ์ของ Google
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่เราต้องมีคือ email ของ google
ดังนัั้นอย่าลืม sign in เข้าสู่ระบบของ google
ก่อนใช้งานนะครับ
เริ่มจากเข้าสู่หน้าของแผนที่
google maps >>>> www.google.co.th/maps/
google maps >>>> www.google.co.th/maps/
กดที่เมนู "บันทึกแล้ว" จะปรากฎเมนูดังภาพ แล้วก็กดเลือกเข้าที่
“MAPS” (2)
1. หมายถึงชื่อแผนที่
เอาไว้ตั้งชื่อแผนที่ของเรา
2. เครื่องมือสร้างlayerของแผนที่
3. เลเยอร์แผนที่ชั้นแรก (เราสามารถทำข้อมูลได้หลายข้อมูลซ้อนกัน
หรือเราจะแยกเป็นแผนที่เป็นกลุ่มๆก็ได้) โดย 1 แผนที่ สามารถมีเลเยอร์จัดเก็บข้อมูลได้ 10 layer โดยที่ 1 layer รองรับข้อมูลที่ 2,000 ข้อมูลต่อ 1 layer หรือ
- สูงสุดรวม 10,000 ( lines, shapes, or places รวมกัน)
- สูงสุด 50,000 ของจำนวน points (in lines and shapes)
- ข้อมูลในตารางสูงสุด 20,000 data table cells
เริ่มทำแผนที่ โดยให้เราเปลี่ยนแผนที่แบบปกติเป็นแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม (เพื่อสะดวกต่อการเขียนรูปแปลงที่ดิน)
จากนั้นก็คลิกที่เครื่องมือวาดเส้น(หมายเลขที่ 1)
ตามด้วยคลิกบริเวณรูปแปลงที่ดินที่เราจะจัดเก็บเป็นข้อมูล
จากนั้นก็คลิกบริเวณมุมจนครบรอบแปลงที่ดิน (หมายเลขที่ 2)
จากนั้นให้เราใส่ข้อมูลที่ต้องการจัดเก็บ เช่น เลขที่โฉนด
หน้าสำรวจ ระวาง ราคาประเมิน ราคาเสนอขาย
หรืออาจจะนำข้อมูลจากเว็บค้นหาข้อมูลแปลงที่ดินจาก https://landsmaps.dol.go.th/ นำมาป้อนใส่
จากตัวอย่าง(เป็นการสมมุติ)
โดยเราสามารถปรับแต่งสีสันของเส้นกรอบและพื้นของแปลงที่ดิน
หรือจะใส่ภาพประกอบด้วยก็สามารถทำได้ โดยคลิกบริเวณไอคอนแรกบริเวณมุมขวาล่างของ Pop
up windows ที่แสดงขึ้นมา
อยากเปลี่ยนสีแบบไหน
อยากได้เส้นขอบหนาบางแบบไหนก็ปรับได้หมด
การเลือก รูปภาพประกอบก็สามารถใช้ภาพจากอินเตอร์เน็ต
หรือจะอัพโหลดขึ้นเองก็ทำได้
เพียงเท่านี้เราก็จะมีแผนที่ที่ตั้งที่ดิน
ที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้หลากหลาย เช่น จัดเก็บแปลงข้อมูลที่ดินมรดก แปลงที่ดินที่เราซื้อไว้ แปลงที่ดินที่น่าสนใจ
หรือแม้แต่ว่าเอาไว้ส่งข้อมูลให้กับผู้ซื้อเวลาเราขายที่ดิน
โดยการแชร์แผนที่สามารถเลือกแบบเป็นกลุ่มลับเฉพาะหรือเฉพาะคนที่อนุญาต
ก็ตั้งค่าแผนที่เป็นแบบ Private หรือจะเลือกปรับเป็นแบบอื่น Google
Maps ก็มีรูปแบบการ์แชร์แผนที่ได้หลายวิธีคือ
- On - Public on the web
คือแบบเปิดกว้าง
คือใครก็สามารถเข้าถึงแผนที่นี้ได้ หรือเรียกว่าเปิดแบบสาธารณะ
- On - Anyone with the link
คือเปิดแชร์แผนที่เฉพาะคนที่มีลิงค์ เมื่อเราเลือกแบบนี้ Google
Maps จะสร้างลิงค์แผนที่ให้เรา ให้เรา copy ไปส่งให้เฉพาะคนที่เราต้องการแชร์
โดยใครก็ตามที่มีลิงค์ก็จะสามารถเปิดแผนที่นี้ได้หมด
- Off - Specific people
แบบนี้คือลับเฉพาะ คือเฉพาะคนที่เราอนุญาตให้เปิดดู โดยจะใช้ email
ของคนที่เราอนุญาตในการเพิ่มเข้าไปในระบบ
-----------------------------------------------------------------------
โดยจากตัวอย่างข้างต้น
ลองเข้าไปดูตัวอย่างแผนที่ทำเป็นตัวอย่างกันได้จากลิงค์ด้านล่างนี้
ไม่มีความคิดเห็น